บันทึกอนุทิน
วันจันทร์ ที่ 19 มกราคม พ.ศ.2558
เวลาเรียน 11.30 - 15.50 น.
เวลาเข้าเรียน 11.30 น. เวลาเข้าสอน 11.30 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.
อาจารย์ให้ดู วีดิโอ ด.เด็ก ช.ช้าง โดยให้นักวิเคราะห์ วีดิโอนี้เป็นอย่างไร
จากการดูวีดิโอนี้ ทำให้รู้ว่า การสอนศิลปะให้กับเด็ก ครูต้องเชื่อในตัวเด็กและผลงานของเด็ก ว่าเด็กสามารถวาดรูปได้ ครูไม่ควรปิดกั้นโอกาสในการแสดงความสามารถของเด็ก และครูไม่ควรประเมินผลงานเด็กด้วยการให้คะแนน เพราะจะทำให้เด็กคิดว่าตัวเองนั้นไม่มีความสามารถ ไม่เก่ง รู้สึกด้อยกว่าเพื่อนอื่นๆ และครูไม่ควรติเตือนผลงานว่าทำไม่สวยและครูไม่ควรที่จะเอาผลงานของเด็กไปเปรียบเทียบกับผลงานของเด็กคนอื่น ไม่ประจานผลงานเด็ก และไม่ควรตำหนิว่าเด็กไม่ได้ทำได้ด้วยตนเอง เพราะ เมื่อเด็กโตขึ้นจะทำให้เขาไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง เวลาที่ครูบอกให้เด็กวาดรูป ครูควรเดินดูเด็กๆวาดรูปด้วย
ความหมายของศิลปะ
ศิลปะ คือ ความงาม (ทางกาย . ทางใจ) รูปทรง และการแสดงออก ศิลปะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดความงามและความพึงพอใจ
ความสำคัญของการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
- เป็นพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญสำหรับเด็กปฐมวัย
- ช่วยจัดสรรประสบการณ์ที่มีผลต่อการเรียนรู้ให้กว้างมากขึ้น
- ช่วยพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล
- ช่วยเสริมสร้าง/กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ
ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด
ความสามารถของสมองออกเป็น 3 มิติ คือ
มิติที่1 เนื้อหา เป็นมิติที่เกี่ยวกับข้อมูล หรือสิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด
มิติที่2 วิธีการคิด เป็นมิติที่แสดงลักษณะการทำงานของสมอง
มิติที่3 ผลของการคิด เป็นมิติที่แสดงถึงผลที่ได้จากการทำงานของสมอง จากมิติที่1 + มิติที่2
ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์
แบ่งลำดับขั้นการคิดสร้างสรรค์ เป็น 5 ขั้น
- ขั้นการค้นพบความจริง
- ขั้นการค้นพบปัญหา
- ขั้นการตั้งสมมติฐาน
- ขั้นการค้นพบคำตอบ
-ขั้นยอมรับผลจากการค้นพบ
ทฤษฎีความคิดสองลักษณะ
เป็นการค้นพบความรู้เกี่ยวกับการทำงานของสมองมนุษย์
การทำงานของสมองสองซีก ทำงานแตกต่างกัน
สมองซีกซ้าย -- ทำงานส่วนของการคิดที่เป็นเหตุผล
สมองซีกขวา -- ทำงานส่วนจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์
ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์
จำแนกความสามารถหรือสติปัญญาของคนเอาไว้ 9 ด้าน ได้แก่
1.ความสามารถด้านภาษา 2.ความสามรถด้านตรรกวิทยาและคณิตศาสตร์
3.ความสามารถด้านดนตรี 4.ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์
5.ความสามารถด้านกีฬา 6.ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์
7.ความสามารถด้านจิตวิเคราะห์ 8.ความสามารถด้านธรรมชาติศึกษา
9.ความสามารถในด้านการคิดพลิกแพลงแตกต่างในการแก้ปัญหา
ทฤษฎีโอตา
ขั้นตอนที่1 การตระหนัก ต้องตระหนักถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ที่มีต่อตนเองทั้งในอดีตและปัจจุบัน
ขั้นตอนที่2 ความเข้าใจ มีความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรรื่องต่างๆ
ขั้นตอนที่3 เทคนิควิธี การรู้เทคนิควิธีการในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทั้งที่เป็นเทคนิคส่วนบุคคลและเทคนิคที่เป็นมาตรฐาน
ขั้นตอนที่4 การตะหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ การรู้จักหรือตระหนักในตนเอง พอใจในตนเอง สามารถดึงศักยภาพมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง
พัฒนาการทางศิลปะ
ขั้นตอนที่1 ขั้นขีดเขี่ย
เด็กวัย 2 ขวบ ขีดๆเขียนๆตามธรรมชาติ ขีดเขี่ยเป็นเส้นตรงบ้างโค้งบ้าง ขีดโดยปราศจากการควบคุม
ขั้นตอนที่2 ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง
เด็กวัย 3 ขวบ การขีดๆเขียนเป็นรูปเป็นร่างขึ้น เขียนวงกลมได้ ควบคุมมือกับตาให้สัมพันธ์กันมากขึ้น
ขั้นตอนที่3 ขั้นรู้จักออกแบบ
เด็กวัย 4 ขวบ ขีดๆเขียยนๆที่เป็นรูปร่างเข้าด้วยกัน วาดโครงสร้างหรือเค้าโครงได้ วาดสี่เหลี่ยมได้
ขั้นตอนที่4 ขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ
เด็กวัย 5 ขวบขึ้นไป เริ่มแยกแยะวัตถุที่เหมือนกับมาตรฐานของผู้ใหญ่ได้ รับรู้ความเป็นจริง เขียนภาพแสดงถึงภาพคน/สัตว์ได้ ควบคุมการขีดเขียนได้ดี วาดสามเหลี่ยมได้
อาจารย์แจกใบงานให้ โดยให้นักศึกษาวาดรูป ในหัวข้อ มือน้อยสร้างสรรค์
ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยาย แต่ก็คุยกับเพื่อนข้างๆบ้าง ตั้งใจทำผลงานของตนเอง
ประเมินเพื่อน เพื่อนส่วนมากเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยทุกคน เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์บรรยาย แต่ก็มีคุยกันบ้างเล็กน้อย และทุกคนตั้งใจทำผลงานของตนเองออกมาได้สวบงามกันทุกคน
ประเมินอาจารย์ อาจารย์สอนเป็นกันเอง อาจารย์แอบดุบางเล็กน้อย เมื่อนักศึกษาเริ่มคุยกัน อาจารย์ตั้งใจสอนมากๆค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น